วิธีล้างลำไส้แบบธรรมชาติ

เราควรมารู้จักก่อนว่า ของเสียและพิษที่สะสมในลำไส้นั้นมีอะไรบ้าง จะได้เข้าใจถึงกระบวนการล้างได้ถูกวิธี

พิษสะสมในลำไส้หลัก ๆ มาจากสิ่งต่อไปนี

  1. ลิ่มของนมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัวที่เป็นเมือกเหนียวอันเกิดจากการรวมตัวระหว่างนมกับน้ำย่อย ส่วนนี้จะไปเป็นเมือกเกาะติดตามผนังลำไส้
  2. น้ำมันพืชชนิดไม่อิ่มตัวสายยาวและไขมันทรานส์ที่จะเกาะอยู่ตามผนังลำไส้หากลำไส้เล็กย่อยไม่ได้หมดหรือย่อยไม่ได้เลย
  3. อาหารที่ย่อยไม่หมดจากระบบย่อยไม่สมบูรณ์ (เพราะตับ ลำไส้เล็ก ตับอ่อน ผลิตภัณฑ์เอ็นไซม์ย่อยไม่ได้มากนัก หรือการเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด)
  4. อาหารที่น้ำย่อยย่อยไม่ได้ หลัก ๆ คือ อาหารแปรรูปและอาหารผ่านไมโครเวฟ
  5. พยาธิและจุลชีพที่เป็นโทษที่ติดมากับอาหาร ผักสด เนื้อสด เป็นต้น กลุ่มนี้จะมาโตในลำไส้ของเราได้ด้วยและแพร่กระจายไปจุดอื่น ๆ ได้ด้วย
  6. สารสังเคราะห์ที่ผสมในอาหาร เช่น สารกันเสีย สีผสมอาหาร สารแต่งกลิ่น ผงชูรส ฟอร์มาลีน เป็นต้น
  7. ยาปฏิชีวนะที่ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในร่างกายทั้งตัวที่ดีและไม่ดี และยาบางชนิดก็ไประคายเคืองผนังกระเพาะและลำไส้อีกด้วย ทำให้ผนังลำไส้เสียหาย ดูดซึมสารอาหารและน้ำได้ไม่ดี

พิษเหล่านี้จะสร้างภาวะที่เป็นกรดและความร้อนเกินให้กับลำไส้ จะทำให้มีสภาพที่เน่าเหม็น มีแก๊ส มีจุลินทรีย์ชนิดไม่ดีอยู่มาก มีพยาธิ ซึ่งเมื่อสะสมไปนาน ๆ จะทำให้ผนังลำไส้เสียหายและเกิดเป็นรูรั่วทำให้สิ่งที่ไม่ควรหลุดลอดเข้าสู่กระแสเลือดหรือน้ำเหลืองผ่านทางผนังลำไส้สามารถเข้าไปได้ ทำให้เกิดภาวะอักเสบเรื้อรัง เม็ดเลือดขาวทำหนักจนเพลีย เกิดภูมิแพ้หรือผิวหนังแพ้ได้ง่าย หรือเซลล์ผนังลำไส้แข็งตัว ยืดหยุ่นได้น้อยลง ดูดซึมสารอาหารและน้ำไม่ได้ดีนัก หรือแทบไม่ได้เลย เป็นต้น

วิธีการล้างลำไส้ตามแนวธรรมชาติที่ทดลองทำได้ด้วยตัวเองแบบง่าย ๆ และปลอดภัย

            ในการล้างลำไส้นั้น เป็นศาสตร์และศิลป์ที่แต่ละคนจะต้องสังเกตและปรับใช้ให้เหมาะกับตัวเอง ไม่มีสูตรที่ทำกับคนหนึ่งแล้วจะได้ผลกับทุกคน 100% (ถ้าไม่ใช่ยาสมุนไพร) เพราะแต่ละคนมีภาวะธาตุหนักและเบาแตกต่างกัน ทำให้การขับถ่ายของแต่ละคนมากน้อยและถี่ไม่เท่ากัน และด้วยภาวะพิษสะสมหรือชีวิตประจำวันที่ผ่านมาทั้งหมดก็ส่งผลให้ลำไส้มีสุขภาพที่แตกต่างกันไปด้วย จึงต้องค่อยๆ หมั่นสังเกตและปรับใช้สูตรต่าง ๆ ให้เหมาะกับแต่ละช่วงของสภาพลำไส้ของเรา

ข้อปฏิบัติในวันที่จะล้างลำไส้

  1. การล้างลำไส้ควรกำหนดวันที่ชัดเจน ซึ่งควรเป็นวันที่ไม่ออกไปไหนเลย เพราะเราจะต้องเข้าห้องน้ำได้ทันทีเมื่อรู้สึกปวดถ่าย ห้ามกลั้นเด็ดขาด
  2. ควรเป็นวันที่เราควรได้พักผ่อนทั้งกายและใจเต็มที่อย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  3. ใช้พลังงานให้น้อยเพื่อไม่ให้รู้สึกหิวและตาลาย เพราะเป็นวันที่จะไม่ทานอาหารที่ให้พลังงงานเลยเพื่อไม่ให้ระบบย่อยอาหารต้องทำงาน
  4. วันที่ล้างพิษลำไส้ห้ามทานน้ำเย็น ควรเป็นน้ำอุ่นเท่านั้นเพื่อให้เซลล์คายพิษได้มากที่สุด


สูตรล้างลำไส้แบบต่าง ๆ

สูตรที่ 1 ดีเกลือ (สูตรจากสูตรล้างพิษตับด้วยดีเกลือ น้ำมันมะกอกและน้ำมะนาว)
ดีเกลือเป็นผลึกสีขาว มีรสขมและมีคุณสมบัติเป็นยาระบาย

วิธีทำและวิธีทาน
ดีเกลือ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำเปล่าสะอาด 250 มิลลิลิตร คนให้เข้ากัน หากรับรสชาติดีเกลือยังไม่ได้ ให้ผสมกับน้ำผลไม้สดที่คั้นเอาไว้ได้ค่ะ แต่ต้องไม่มีน้ำตาลผสมเพิ่มเติม
ดื่ม 1 แก้ว แล้วสักพักก็ค่อยดื่มน้ำตาม และรออีก 2 ชั่วโมงจึงดื่มอีกแก้วด้วยสัดส่วนการผสมเท่าเดิม คือ ทุก ๆ 2 ชั่วโมงจะดื่ม 1 แก้ว และดื่มน้ำระหว่าง 2 ชั่วโมงนั้นมาก ๆ และควรเป็นน้ำอุ่นจะดีที่สุด
บางคนจะรู้สึกอยากถ่ายเร็ว บางคนจะรู้สึกช้า
ถ่ายครั้งแรก ๆจะมีกลิ่นแรงมากและมีของเสียสีดำคล้ำมากหน่อย
แต่เมื่อถ่ายไปหลาย ๆ รอบแล้ว จะรู้สึกว่ากลิ่นเริ่มลดลงหรือหายไปและสีเริ่มไม่ดำคล้ำแล้ว ควรต้องเป็นสีน้ำตาลอ่อน ๆ และลอยน้ำ ถือว่าใช้ได้
ปกติแล้วควรจะเริ่มหยุดประมาณแก้วที่ 3 หรือเริ่มรู้สึกว่ากลิ่นอุจจาระเริ่มจางหรือหายไปแล้ว
หากรู้สึกเสียน้ำมากและเพลียให้ทานเกลือแร่ได้ (ที่ทานตอนท้องเสีย) หรือจะทานเป็นน้ำผลไม้คั้นสดที่ไม่เย็นได้ เช่น น้ำแตงโม น้ำสับปะรด น้ำส้มคั้น ได้

สูตรที่ 2 แอปเปิ้ลไซเดอร์และน้ำผึ้ง (สูตรจากผู้นำคอร์สล้างพิษตับ)
เนื่องจากแอปเปิ้ลไซเดอร์หรือน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ลนั้นมีความเปรี้ยว รสเปรี้ยวจะช่วยกัดเซาะไขมันที่เกาะติดที่ผนังลำไส้ได้ดี ส่วนน้ำผึ้งผสมลงไปเพื่อให้ทานง่ายและให้พลังงานและสารอาหารแก่ร่างกายได้ดี

วิธีทำและวิธีทาน
ผสมแอปเปิ้ลไซเดอร์ 1 ช้อนโต๊ะ (ใช้ช้อนพลาสติกหรือไม้ อย่าใช้โลหะ) กับน้ำผึ้งแท้  2 ช้อนโต๊ะ​ คนให้เข้ากันพอประมาณ แล้วผสมน้ำอุ่นลงไปจนได้ปริมาณ 250 มิลลิลิตร คนให้เข้ากันอีกครั้ง แล้วดื่มให้หมดภายในครั้งเดียว สามารถทำดื่มได้ตลอดวัน ผสมไว้ตอนเช้าแล้วใช้ทั้งวันได้ หรือจะผสมสดแล้วดื่มเลยก็ได้ สามารถดื่มได้มากเท่าที่ต้องการ ไม่จำนวนปริมาณ และควรดื่มน้ำเปล่าไม่เย็นหรืออุ่นตามมาก ๆ ด้วย

สูตรที่ 3 มะขามเปียก
            มะขามเปียกมีรสเปรี้ยว ทานแล้วจะกระตุ้นการขับถ่ายและกัดเซาะไขมันในลำไส้ได้เช่นกัน

วิธีทำและวิธีทาน            นำมะขามเปียกมาแช่น้ำอุ่นให้พองตัวแล้วใช้มือสะอาดบีบคั้นน้ำออกมาในกระชอนเพื่อให้กรองเอาตะกอนออก แล้วดื่มเฉพาะน้ำมะขามเปียกที่คั้นออกมาแล้ว โดยดื่มทีละครึ่งแก้ว (1 แก้วคือ 250 มิลลิลิตร) แล้วสังเกตการขับถ่ายว่ามากน้อยเพียงใด หลังดื่มน้ำคั้นมะขามเปียกแล้วก็ให้ดื่มน้ำอุ่นตาม 1-2 แก้ว นวดท้องวนจากขวาไปซ้ายแล้วรอดูการขับถ่าย การดื่มรอบนึงควรกระตุ้นให้ขับถ่ายได้สัก 2-3 ครั้งต่อ 1-2 ชั่วโมง ก็ให้ดื่มกระตุ้นอีกครั้งหรือสองครั้ง จนกว่าจะขับถ่ายหมด รู้สึกโล่งและกลิ่นของเสียลดลง)

สูตรที่ 4 น้ำมะนาว
มะนาวมีรสเปรี้ยว ทานแล้วจะกระตุ้นการขับถ่ายและกัดเซาะไขมันในลำไส้ได้เช่นกัน

วิธีทำและวิธีทาน
            ผ่ามะนาว ½ - 1 ลูก (ขึ้นอยู่กับขนาด) แล้วบีบลงในแก้ว ตักเม็ดออก แล้วเติมน้ำอุ่นลงไปประมาณ ½ - 1 แก้ว  คนให้เข้ากันด้วยช้อนพลาสติกหรือไม้ ให้รสชาติไม่เปรี้ยวมากไปหรือจางเกินไป แล้วดื่มให้หมดครั้งเดียว นวดท้องวน ๆ จากขวาไปซ้าย อาจใช้หลอดดูดดูดน้ำเพื่อป้องกันการเซาะเคลือบฟัน และอย่าแปรงฟันทันทีหลังทานน้ำมะนาว
            ดื่มแล้วเว้นระยะ แล้วสามารถดื่มอีกเพื่อกระตุ้นการขับถ่ายของเสียออกให้หมด ให้กลิ่นอุจจาระเบาบางลง จางลง
            หากนำเกลือแกงใส่สัก 1 ช้อนชา จะช่วยเพิ่มคุณสมบัติการฆ่าเชื้อลงไปด้วย

สูตรที่ 5 เม็ดแมงลัก
            เม็ดแมงลักที่พองตัวอิ่มน้ำจะสามารถกวาดเอาของเสียในลำไส้ออกมาได้ ช่วยเพิ่มใยอาหาร เพิ่มน้ำหนักให้อุจจาระ จะทำให้รู้สึกปวดถ่วงและอยากอุจจาระได้มากขึ้น และเป็นอาหารให้กับแบคทีเรียชนิดที่ดีได้ด้วย คือมีคุณสมบัติเป็น prebiotics

วิธีทำและวิธีทาน
            นำเม็ดแมงลัก 1-2 ช้อนชามาผสมในน้ำเปล่าอุ่น ๆ 250 มิลลิลิตร คนให้เข้ากับน้ำแล้วรอจนกว่าเม็ดแมงลักจะดูดน้ำจนพองตัวมาก ๆ ใช้เวลาประมาณ 20 นาที แล้วจึงค่อยดื่มรวดเดียวจนหมด
            ทานเฉพาะช่วงก่อนนอน 1 แก้ว หรือทานตลอดวันในวันที่ล้างลำไส้ได้ แต่ต้องดื่มน้ำตามมาก ๆ เพื่อป้องกันการอุดตันในลำไส้และควรทานสูตรอื่น ๆ เพื่อกระตุ้นการขับถ่ายควบคู่ไปด้วย

สูตรที่ 6 ชามะละกอ
            มะละกอดิบที่นำมาต้ม เอาแต่น้ำมาดื่ม เรียกชามะละกอ ซึ่งจะช่วยล้างไขมันในลำไส้ได้ดี

วิธีทำและวิธีทาน
            นำมะละกอห่ามมาล้างน้ำให้สะอาด หากมั่นใจว่าเปลือกสะอาด ปลอดสาร เช่นที่ปลูกเองที่บ้าน ให้ใช้ทั้งเปลือก แต่ถ้าไม่มั่นใจ ให้ปอกเปลือกออก ล้างน้ำให้สะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นพอประมาณ ไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป นำลงไปในน้ำเดือดแล้วเคี่ยวไปเรื่อย ๆ ประมาณ 20-30 นาที จนกว่าจะเห็นว่าน้ำเปลี่ยนสีและมะละกอเริ่มเปื่อย จึงนำชานั้นมาทาน ไม่ต้องทานเนื้อ
            สามารถรินดื่มได้ตลอดวัน และให้ดื่มน้ำไม่เย็นมาก ๆ ตามด้วย
           

การสวนล้างลำไส้

            การสวนล้างลำไส้  หมายถึง  การใช้อุปกรณ์ช่วยในการล้างทำความสะอาดบริเวณลำไส้ใหญ่ ซึ่งมี 2 แบบคือ ทำเองที่บ้านกับไปสถานพยาบาลที่มีเครื่องล้างลำไส้ไว้บริการ
            การทำเองนั้นอาจจะง่าย แต่ถ้าใครที่สุขภาพไม่ดี ลำไส้มีแผล หรือทำไม่ถูกต้อง อาจเป็นอันตรายได้ ควรศึกษาวิธีให้ดีเสียก่อน มีผู้ชี้แนะที่รู้จริงสอนให้ และต้องประเมินสุขภาพก่อนทำ
            การไปทำที่สถานพยาบาลที่มีมาตรฐานและปลอดภัย จะมีแพทย์ประเมินสุขภาพให้ก่อนว่าทำได้หรือไม่ อุปกรณ์สะอาด ปลอดภัย แต่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าทำเอง
            อยู่ที่วิจารณญาณของแต่ละท่านว่าจะเลือกวิธีไหน
            ซึ่งการล้างลำไส้แบบทานนั้นจะล้างตั้งแต่กระเพาะและลำไส้ส่วนต้นลงมา แต่ส่วนกลางถึงท้ายอาจไม่สะอาดทั่วถึง การสวนลำไส้เป็นวิธีการที่ (ด้วยตรรกะ) แล้ว คือ ล้างด้านล่าง ก็จะทำให้การล้างลำไส้หรือทางเดินอาหารสะอาดครบวงมากขึ้นนั่นเอง
            ในที่นี้จะพูดถึงการทำด้วยตัวเองเท่านั้น ซึ่งบุคคลที่จะทำนั้นต้องมีสุขภาพดี ถ้าหากป่วยจะต้องมีผู้ที่มีประสบการณ์ชี้แนะและดูแลอีกที ซึ่งต้องสามารถแก้ไขปัญหาได้เมื่อผู้ทำมีปัญหา

            การทำด้วยตัวเอง จะใช้วัสดุอุปกรณ์ดังนี้
  1. ขวดสวนพร้อมที่แขวน
  2. สายยางพร้อมฝา
  3. วาสลีน
  4. น้ำเปล่า (ระดับต้นยังไม่แนะนำกาแฟหรือน้ำอื่น ๆ เช่น น้ำมะนาวหรือย่านางเพราะน้ำเหล่านี้จะส่งผลต่อร่างกายมากกว่าการล้างลำไส้ เพราะรสของน้ำเองจะไปทำปฏิกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่งกับร่างกาย เช่น น้ำย่านาง ทำให้เย็นลง น้ำมะนาว น้ำกาแฟจะไปขับพิษ เป็นต้น)


ขวดสวนนั้นสามารถใช้ขวดพลาสติกน้ำดื่ม 1.5 ลิตรมาทำเองได้ โดยตัดก้นขวดเล็กน้อย ส่วนฝาขวดให้เจาะรูแล้วนำสายยางเข้าไปใส่  แต่ตอนนี้สามารถหาซื้อได้ง่าย มีจำหน่ายทั่วไป ซึ่งใช้วัตถุดิบคุณภาพดี Food Grade ล้างแล้วใช้ซ้ำได้หลายครั้งจนกว่าจะเปลี่ยนใหม่ และมีขายเป็นชุดให้ด้วย
วิธีการก็ไม่ยากเลย เพียงแต่หาสถานที่ที่จะลงนอนได้หรืออย่างน้อยก็สามารถโก้งโค้งให้หน้าท้องขนานกับแนวพื้นได้ หาที่แขวนขวดให้อยู่สูงจากตำแหน่งทวารหนักของเราประมาณ 1 เมตร ถ้าเกรงว่าจะกลั้นไม่ได้ก็ให้สูงเพียง 50 เซนติเมตร คือให้น้ำไหลเข้าช้า ๆ จะไม่กระตุ้นการขับถ่ายมากเท่าไหร่
จากนั้นปิดวาล์วที่สายยาง แล้วใส่น้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 37 องศา (เท่าร่างกาย) ลงในขวด ซึ่งจะมีตัวเลขบอกปริมาณอยู่แล้ว ผู้หญิงไม่เกิน 1,000 cc ผู้ชายไม่เกิน 1,500 cc โดยกะตามน้ำหนัก ถ้าตัวเล็ก ก็ไม่ต้องใส่น้ำมาก
ทาวาสลีนที่ปลายสายที่จะเสียบเข้ารูทวารหนักให้มาก ๆ เพื่อไม่ให้เกิดบาดแผล นอนหรือยืนในท่าที่เตรียมไว้แล้วใส่ปลายสายยางเข้าไปช้า ๆ ให้ลึกประมาณ 3-5 เซนติเมตร แล้วเปิดวาล์วน้ำให้ไหลลง ทำใจสบาย ๆ หากปวดถ่ายให้หายใจเข้าลึก ๆ ช้า ๆ ค่อย ๆ ผ่อนออก แล้วอาการปวดถ่ายจะหายไปเอง
ปล่อยให้น้ำเข้าจนหมดแล้ว หากนอนกับพื้น ให้นอนหงายแล้วชันขาขึ้น เอามือนวดท้องเบา ๆ จากมุมล่างขวาของท้องไล่ขึ้นมาที่ส่วนกลางลำตัวแล้วไล่ไปทางซ้ายแล้วไล่ลงที่มุมล่างของท้อง (แนวการวางตัวของลำไส้ใหญ่) คลึง ๆ ไปเรื่อย ๆ สักประมาณ 8-12 นาที หากไม่ถึงจริง ๆ ก็ควรให้เกิน 5 นาทีเป็นอย่างต่ำ ก็ไปถ่ายออกได้
ภาวะปวดถ่าย คือ ภาวะที่ลำไส้บีบตัวเพื่อจะขับของเสียที่เกาะติดผนังลำไส้อยู่ให้ออกไป เราจะรู้สึกปวดเป็นช่วง ๆ ขึ้นอยู่กับปริมาณของเสียที่อยู่ในลำไส้ว่ากองโตหรือมีมากน้อยเพียงใด ถ้าติดทน ติดมานานแล้วก็จะปวดบีบนานหน่อย ให้หายใจเข้าออกลึก ๆ ช้า ๆ แล้วเดี๋ยวพอของเสียออก มันจะหายปวดเอง จะมีเสียงครึก ๆ น้อย ๆ ตอนที่เหมือนของเสียจะหลุดออกแล้วด้วย (ถ้าสังเกตดู)
เรื่องของความถี่ บางคนก็ทำทุกวัน บางคนก็สัปดาห์ละครั้ง บางคนก็ทำติดกันช่วงหนึ่ง 3-14 วัน แล้วก็หยุดไป แล้วกลับมาทำใหม่ ทั้งนี้ไม่มีสูตรตายตัว อยู่ที่ทัศนคติและชีวิตประจำวันของแต่ละคนว่าจะสะดวกทำมากน้อยเพียงใด
     

การดูแลรักษาลำไส้หลังล้างลำไส้แล้ว

            หลังล้างลำไส้ เราควรปรับปรุงเรื่องอาหารการกินใหม่เพื่อป้องกันไม่ให้ของเสียตกค้างในลำไส้มากมายเหมือนที่ผ่านมาอีก โดยมีหลักง่าย ๆ ดังนี้
  1. พยายามทานอาหารสด สะอาด ไม่แปรรูป ไม่ปรุงแต่งมากเกินไปเป็นประจำสม่ำเสมอ
  2. รับ prebiotics (ใยอาหาร) และ probiotics (จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์) จากอาหารที่ทานเป็นประจำทุกวัน หากแพ้นมวัวหรือโยเกิร์ต แนะนำให้ทานประเภทน้ำหมักสมุนไพรที่ได้มาตรฐานและสะอาดหรือแคปซูลหรืออาหารเสริมประเภทจุลินทรีย์
  3. หากระบบย่อยไม่ดี ตัดถุงน้ำดี หรือนอนดึกเป็นประจำ ควรทานอาหารย่อยง่าย ๆ ต้ม นึ่ง ลวก แกง เป็นหลัก 
  4. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของไขมันทรานส์ ผัดทอดด้วยน้ำมันพืชสายยาวประเภทไม่อิ่มตัว แนะนำให้ใช้น้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันหมูในการปรุงอาหารประเภทผัดทอดแทน (กรุณาศึกษาเพิ่มเติมจากหนังสือ ปฏิวัติน้ำมันพืช โดย อาจารย์ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์)
  5. ออกกำลังกายประเภทที่มีการบริหารหน้าท้องเป็นประจำ
  6. ดื่มน้ำเปล่าไม่เย็นหรืออุ่นเป็นประจำ ไม่ต่ำกว่า 1 ลิตรต่อวัน
  7. ดื่นน้ำเปล่าอุ่น ๆ ทุกเช้าหลังตื่นนอนอย่างน้อย 1-2 แก้ว
  8. ไม่ทานยาปฏิชีวนะหากไม่จำเป็นจริง ๆ


ตัวอย่างการล้างลำไส้ใน 1 วัน (สำหรับผู้เริ่มต้นที่ยังไม่สามารถงดอาหารแล้วทานแต่น้ำได้เต็มวัน)

คืนก่อนล้างลำไส้  -  ทานเม็ดแมงลักผสมน้ำอุ่นก่อนนอน และควรนอนก่อน 4-5 ทุ่ม ยิ่งเร็วยิ่งดี เพราะตอนเช้าลำไส้จะได้มีพลังงานในการขับเคลื่อนของเสีย

วันล้างลำไส้
5.00 – 7.00 น.    ดื่มน้ำมะนาว เกลือ ผสมน้ำอุ่น หรือใช้สูตรเปรี้ยว ๆ สูตรไหนก็ได้ทานหลังตื่นนอนเพื่อกระตุ้นลำไส้ให้ขับถ่าย ดื่มน้ำอุ่นตามมาก ๆ และพยายามบริหารหน้าท้อง ขับถ่ายออกให้มากที่สุด
7.00 – 9.00  น.   ทานกล้วยน้ำว้าสุก 2-3  ผล แล้วจิบน้ำดื่มเรื่อย ๆ
9.00 – 11.00 น.   ดื่มสูตรดีเกลือ 9 โมง 1 แก้ว  11 โมงอีก  1  แก้ว ระหว่างเวลานี้ดื่มน้ำเปล่าสะอาดที่อุ่นมาก ๆ
11.00 – 13.00 น. ดื่มแต่น้ำเปล่า ถ้ารู้สึกหิว ให้คั้นน้ำส้มคั้นหรือน้ำสับปะรดดื่ม หากไม่หายกระหายให้ดื่มน้ำย่านางหรือใบบัวบกหรือน้ำผักบุ้งคั้นสดดื่มสัก 1 แก้ว
13.00 – 15.00 น.  ดื่มชามะละกอให้เต็มที่ ครบ 1 ลิตรในช่วงเวลานี้ ตามระบบนาฬิกาชีวิตเป็นของลำไส้เล็ก
15.00 – 18.00 น.  ดื่มแต่น้ำเปล่าไปเรื่อย ๆ หากหิวมาก ๆ ให้ทานน้ำส้มคั้น น้ำแตงโม น้ำสับปะรด เพื่อเติมน้ำตาลในเลือดได้
18.00 – 20.00 น. ดื่มน้ำดีเกลือ 1 แก้ว ตอน 18.00 น. และอีก  1 แก้วตอน 20.00 น. หลังจากนั้นรอให้ขับถ่าย และช่วงระหว่าง 18.00 – 22.00 น. ให้ดื่มน้ำเปล่าอุ่นมาก ๆ เพื่อช่วยให้ขับถ่ายได้ดีขึ้น

คำแนะนำช่วงล้างลำไส้
  • เข้านอนไม่เกิน 22.00 น.
  • หากมีสิวอักเสบหรือภาวะร้อนเกินจากการถอนพิษ (ล้างลำไส้) ให้ดื่มน้ำย่านาง ใบเตย ผักบุ้ง ใบบัวบก คั้นสดจนกว่าจะถอนพิษร้อนหรือสิวอักเสบออกได้มากแล้วก็ให้หยุด อย่าให้ร่างกายเย็นไป และสามารถทานได้แม้หลังจากวันล้างลำไส้แล้วเพราะพิษร้อนที่กระจายออกมาช่วงล้างพิษจะยังคงอยู่ได้
  • กัวซา อบตัว ซาวน่า เพื่อช่วยระบายความร้อนและพิษออกทางผิวหนัง
  • อย่าออกกำลังหักโหมหรือเหนื่อยมาก ๆ เพราะจะทำให้เป็นลมหรือหน้ามืดได้ เพราะไม่ทานอะไร ควรเป็นวันพักผ่อนจริง ๆ จะดีที่สุด
  • วันหลังล้างลำไส้ให้ทานอาหารอ่อน ๆ เช่นข้าวต้ม โจ๊ก ต้มจืด สลัด เต้าหู้ อย่าทานของผัดทอดหนัก ๆ หรือ Fast Food ทันที





ความคิดเห็น