เครียด-ท้องเฟ้อ-เรอบ่อย สัญญาณเตือน "โรคตับ"

ขอแปะอีกอันค่ะ มีประโยชน์มากและทำให้เห็นภาพมากขึ้นว่า คนที่มีสิวหลายคนมีภาวะที่เกี่ยวกับพลังตับอันเนื่องมาจาก การนอนดึก ความเครียด การไม่ออกกำลัง ลองอ่านดูนะคะ แล้วจะเข้าใจสิวของตัวเองมากขึ้น




          

 ตับ เป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งในร่างกาย อีกทั้งยังเป็นอวัยวะที่อึดมากๆ คนเราสามารถมีชีวิตอยู่ได้ด้วยการทำงานของตับเพียง 30% ผู้ป่วยโรคตับจึงไม่มีอาการที่ชัดเจนและไม่แสดงความผิดปกติในผลเลือด แต่พอมีอาการหรือตรวจเจอก็มักจะสายเกินไปแล้ว



          เราจะวิธีสังเกตอย่างไรว่าตับของเราเริ่มเสื่อมลง ไม่แข็งแรงเท่าที่ควร เราจะได้ป้องกันและบำรุงรักษาตับแต่เนิ่นๆ มิให้พัฒนาเป็นโรคตับขั้นรุนแรง...



          หน้าที่สำคัญของตับในทัศนะการแพทย์แผนจีน...



          ในทัศนะการแพทย์จีน หนึ่งในหน้าที่สำคัญของตับ คือ การระบายพลังชี่ให้กระจายไปสู่ทั่วทั้งร่างกาย ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะให้ตับและอวัยวะอื่นๆ ทำงานได้ปกติ แต่ความสามารถในการระบายพลังชี่ของตับจะค่อยๆ ลดลงเมื่ออายุย่างเข้า 30 - 35 ปี ซึ่งเป็นไปตามความเสื่อมของร่างกาย



          ส่งผลให้พลังชี่ถูกอั้นไว้ในตับ และเลือกและพลังชี่ก็จะไหลเวียนไม่คล่องตัว ทำให้เส้นลมปราณตับสะดุดและติดขัด นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงในชีวิตประจำวันก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่จะเร่งให้เกิด ภาวะพลังชี่อั้นในตับเร็วขึ้นและรุ่นแรงขึ้น



          เส้นลมปราณตับ เริ่มทอดตั้งแต่ปลายนิ้วหัวแม่เท้าไปตามหลังเท้าขึ้นไปสู่น่อง แล้ววกผ่านอวัยวะเพศ (อัณฑะหรือมดลูก) ขึ้นไปยังท้องน้อยผ่านตับ ถุงน้ำดี เลียบข้างกระเพาะอาหารและขึ้นไปตามปอด ลำคอ แก้ม และสิ้นสุดที่สมอง



          ดังนั้น เส้นลมปราณตับติดขัดจาก ภาวะพลังชี่อั้นในตับจึงทำให้ตับและอวัยวะอื่นๆ ตามเส้นลมปราณตับทำงานผิดปกติ หากปล่อยไว้เรื้อรัง อาจพัฒนาเป็นโรคตับขั้นรุนแรง เช่น ตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็งหรือมะเร็งตับ เป็นต้น



          ภาวะพลังชี่อั้นในตับจะแสดงอาการอย่างไร...



          - ผลกระทบด้านจิตใจและอารมณ์ :



          ถ้าเส้นลมปราณตับส่วนบนที่ เดินผ่านสมองเกิดการติดขัด ก็จะทำให้สมองผลิตสารเคมีทั้งหลายที่ทำให้คนเราไม่เครียดและรู้สึกอารมณ์ดี น้อยลง จึงเกิดความเครียด ขี้หงุดหงิด หดหู่หรือซึมเศร้าได้ง่ายขึ้นและบ่อยขึ้น



          - เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในเต้านมหรือตับ :



          เส้นลมปราณตับ เกี่ยวข้องกับเต้านม ตับ ประจำเดือน และมดลูก ภาวะพลังชี่อั้นในตับทำให้การไหลเวียนของพลังชี่และเลือดไม่คล่องตัว จึงเกิดการสั่งสมพิษในร่างกาย เมื่อพิษนั้นสั่งสมเป็นเวลานานก็จะจับตัวเป็นก้อน เสี่ยงต่อการเป็นเนื้องอกหรือมะเร็งในเต้านม ตับหรือมดลูก



          - ผลกระทบต่ออวัยวะตามเส้นลมปราณตับ :



          การติดขัดของเส้นลมปราณตับส่วนบน นอกจากจะทำให้เราเครียดแล้ว ยังทำให้เกิดอาการผิดปกติ เช่น ต่อมไทรอยด์อักเสบ รู้สึกมีอะไรจุกอยู่ในคอหอย จะกลืนก็ไม่เข้า จะคายก็ไม่ออก ผิวหน้าซีดเหลือง มีฝ้าฮอร์โมนบนใบหน้า เป็นต้น



          การติดขัดของเส้นลมปราณตับส่วนกลาง จะ ทำให้เกิดอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหรือคัดเต้านมโดยเฉพาะในสตรีจะเป็นมากขึ้นช่วงก่อนจะมีประจำเดือน เนื้องอกหรือมะเร็งในเต้านม รู้สึกหายใจไม่เต็มท้องทำให้ต้องถอนหายใจบ่อยๆ ปวดแน่นหรืออึดอัดบริเวณชายโครง เป็นต้น    

    

          ส่วนการติดขัดของเส้นลมปราณตับส่วนล่าง จะส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้องตึงตัว ทำให้เกิดอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้องน้อย รู้สึกปวดหน่วงอัณฑะ ประจำเดือนผิดปกติ เนื้องอกหรือมะเร็งมดลูก  เป็นต้น



          - ผลกระทบต่อระบบย่อยอาหาร :



          ภาวะพลังชี่อั้นในตับทำให้ตับ กระเพาะอาหาร และม้ามทำงานไม่สัมพันธ์กัน จึงส่งผลให้เกิดอาการเบื่ออาหาร เบื่อของมัน ท้องอืดท้องเฟ้อคล้ายอาหารไม่ย่อย เรอบ่อย กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง ท้องร่วงหรืออุจจาระหยาบไม่จับตัวเป็นก้อน



          เมื่อกระบวนการย่อยดูดซึมและลำเลียงอาหารบกพร่องเป็นเวลานานย่อมสงผลกระทบต่อการ สร้างเลือดและพลังชี่ในร่างกาย ทำให้เกิดอาการของหัวใจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทและการไหลเวียนของโลหิต เช่น ใจสั่น นอนไม่หลับ นอนหลับแต่ฝันร้าย ตื่นตอนกลางคืนแล้วหลับยากหรือนอนหลับมากเกินไป ขี้ลืม ตกใจง่าย เป็นต้น



          การแพทย์จีนมีวิธีบำบัดอย่างไร...



          สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการพลังชี่อั้นในตับ หรือผู้ป่วยที่ต้องการปรับความสมดุลของตับ หรือรักษาโรคตับแรกเริ่ม การแพทย์จีนนิยมใช้วิธีระบายพลังชี่ในตับให้กระจายไปสู่ทั่วร่างกาย เส้นลมปราณตับจึงไม่สะดุดและติดขัด เลือดและพลังชี่ก็จะไหลเวียนได้สะดวกขึ้น



          อาการเครียด ขี้หงุดหงิด นอนหลับยาก เบื่ออาหาร ท้องอืดท้องเฟ้อ เรอบ่อยและอาการอื่นๆ ที่เกิดจากภาวะพลังชี่อั้นในตับก็จะค่อยๆ ทุเลาลงหรืออาจหายไปในที่สุด...

จาก http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/8233

ความคิดเห็น