ข้อแนะนำในการทานวิตามิน (หลักการทั่วไป)

พึ่งกลับมาจากปั่นจักรยานค่า วันนี้ไปปั่นตอนเย็น เพราะช่วงเ้ช้าไม่ไ้ด้ไป

ตอนนี้หน้าหนาวเริ่มมาเย็นแล้ว อากาศเริ่มเย็นลง (อากาศดีมากกกก ขอบอก...ยิ่งทุ่งนานะคะ อื้อหือ...สุดยอดมาก ๆ ไปสูดมาซะเต็มปอดเมื่อกี๊เลยค่ะ)

แต่แดดจะไม่ค่อยมีเลย...อันนี้สิเซ็ง อิอิ

ช่วงนี้บีมมีโปรเจ็ค กำลังง่วน ๆ กับมันอยู่ แต่ก็จะพยายามมาอัพบล็อกอย่างสม่ำเสมอนะคะ

วันนี้จะมาอัพเดทเรื่องวิตามินค่ะ

ตั้งแต่กลางเดือนที่ผ่านมาที่พี่ของบีมได้เอา Evening Primrose Oil กระปุกใหญ่มาวางแหมะบนมือแล้วบอกว่าเอาไปกินเถอะ พี่ไม่กิน

ตอนนี้เกิดคำถามว่า "ทำไมไม่กินหว่า ของดีออก"

แต่ก็ไม่ถามกลับ เพราะของฟรี ใคร ๆ ก็ชอบค่ะ อิอิ

สองวันให้หลังค่อยกิน เพราะตอนแรกคิดว่า ไม่เอาอ่ะ ไม่อยากกินวิตามินรักษาสิว

แต่ลองหาข้อมูลประกอบกับอาการที่สิวขึ้นง่ายเหลือเกินแม้จะกินข้าวธรรมดาก็เถอะ

ก็เลยลองดู ว่ามันจะทำให้ดีขึ้นกว่านี้ได้อีกมั้ย

เพราะมันผอม...อยากให้น้ำหนักขึ้นอีก 5 กิโลกรัมค่ะ ก็ตัดสินใจกินดู

3 วันผิวเริ่มเนียน และสิวไม่ค่อยขึ้นละแม้ว่าจะทานข้าว

คราวนี้เลยตัดสินใจเอาวิตามินที่ซื้อมาตอนแรก ๆ เมื่อเิริ่มทำตามสูตรของกอร์ดี้มากินทั้งเซ็ต

ตอนนั้นซื้อวิตามินเอ อี ซี และสังกะสีมาค่ะ

แต่วิตามินอี เอาไปให้คุณแฟนที่มาเลย์เรียบร้อยแล้ว ให้เค้าเจาะเอาใส่หน้า (แต่คาดว่าคงโดนดองแน่นอน เพราะถ้าบีมไม่อยู่ เค้าไม่ค่อยใส่ใจอะไรหน้าตัวเองค่ะ)

คราวนี้ก็เกิดอาการอยากรู้ว่า กินยังไงให้ดีและปลอดภัย เลยซื้อหนังสือมาอ่าน เป็นของเภสัชกรวิโรจน์ สุ่มใหญ่ หนังสือชื่อ วิตามินและโภชนบำบัด: ศาสตร์มหัศจรรย์ชะลอความชรา

ลองไป google หาดูนะคะว่ามันเกี่ยวกับอะไร

แต่ที่เลือกซื้อมาเพราะมีรายละเอียดเกี่ยวกับวิตามินแต่ละตัวอย่างครบถ้วน และตัวเค้าเองก็เป็นเภสัชกรที่ขณะนี้ทำงานในสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข และมีประสบการณ์ตรงจากการใช้วิตามินบำบัดโรครุนแรงที่เค้าเป็นอยู่ (บีมชอบซื้อหนังสือคนมีประสบการณ์ตรงค่ะ ไม่ชอบวิชาการที่เีขียนจากคนที่ไม่เคยได้ัรับการรักษานั้น ๆ มา เพราะมุมมองเ้ค้าจะลึกกว่าค่ะ และเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น แต่ถ้าจากคนที่รักษาคนมาเยอะมาก ๆ ด้วยวิธีนั้น และปฏิบัติเองด้วย ก็อ่านเหมือนกันค่ะ คือเ้น้นอ่านหนังสือคนประสบการณ์โชกโชนค่ะ)

และหลังจากกิน ก็รู้สึกได้ผลดีทีเดียวค่ะ ประกอบกับเซ็ตดูแลหน้าที่ซื้อมาแล้ว รู้สึกดีขึ้นอย่างมากมาย

แต่ขอเวลาบีมทดสอบประสิทธิภาพก่อนนะคะ จนแน่ใจแล้วบีมจะมาเขียนรายงานกันอีกครั้ง

แต่ครั้งนี้ ขอเขียนเรื่องวิตามินก่อน เพราะมั่นใจในประสิทธิภาพ

แต่สิ่งที่ต้องบอกก่อนคือ ขอให้ระลึกถึง

Step ในการดูแลผิวเป็นสิวแบบยั่งยืน

ไว้เสมอนะคะ ว่าคุณจะต้องผ่านขั้นตอนแรกไปก่อน คือ การสร้างสุขภาพ

เพราะอะไรนั้น เดี๋ยวบีมจะอธิบายให้ฟังใน post ถัด ๆ ไปค่ะ ใจเย็นก่อน

หลักการทานวิตามินที่ถูกต้อง
จากที่ได้อ่านข้อมูลในหนังสือที่กล่าวถึงนั้น แม้จะยังอ่านไม่จบ แต่ก็จับจุดได้ดังนี้ค่ะ
  • สิ่งแรกที่ต้องเช็คคือ เรามีโรคประจำตัวอะไรบ้างมั้ย ถ้าไม่แน่ใจ ขอให้ไปเช็คค่ะ มีความผิดปกติอะไรรึเปล่า เพราะโรคบางโรคก็ทำให้ทานวิตามินบางตัวไม่ได้ มันจะทำให้อาการกำเริบขึ้นได้ เช่น ผู้ป่วยโรคลมชักที่รับประทานยาเฟ็นนิโทอิน (phenytoin) หากรับประทานกรดโฟลิกในปริมาณมาก ๆ อาจทำให้อาการกำเริบได้ เป็นต้น
  • ต่อมาที่ต้องรู้คือ จะทานเพื่ออะไร รักษา ป้องกัน หรือเสริมสร้างอะไร เพราะการทานเพื่อวัตถุประสงค์ี่แตกต่างกันสำหรับวิตามินตัวเดียวกันก็จะมีปริมาณแตกต่างกัน คุณวิโรจน์ให้ตัวอย่างว่า วิตามินซี ถ้าใช้เพื่อป้องกันโรคลักปิดลักเปิด ก็รับแค่ 35 มิลลิกรัมต่อวันก็เพียงพอ แต่ถ้าต้องการใช้บำรุงสุขภาพทั่วไป ทานวันละ 300 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ถ้าจะเอาขั้นต่อต้านการชราภาพ ป้องกันความเสื่อม ก็ทานวันละ 500 - 3,000 มิลลิกรัม เป็นต้น
  • แต่ทั้งนี้ ต้องเช็คด้วยว่า ค่า "ปริมาณสูงสุดที่บริโภคได้โดยปลอดภัย" (Safe Upper Range) นั้นมีค่าเท่าไหร่ ซึ่งเภสัชกรและแพทย์น่าจะรู้ตรงนี้ค่ะ (ใช้คำว่าน่าจะนะคะ) เราต้องไม่กินเกินค่านี้ค่ะ อย่างไรก็ตาม ก็ควรดูที่วัตถุประสงค์ในการใ้ช้วิตามินเป็นหลัก
  • จุดนี้สำคัญค่ะ วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ นั้น ในธรรมชาตินั้นจะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อถูกดูดซึมไปใช้ร่วมกัน โดยการทานวิตามินนั้น ควรต้องตรวจสอบดูว่า มันจะถูกดูดซึมได้ดีเืมื่อทานกับอาหารประเภทไหน กับวิตามินหรือแร่ธาตุอะไร เพราะในธรรมชาติแล้ว ไม่มีอะไรทำงานได้ดีอยู่เพียงอันเดียว มันจะต้องทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าทานสังกะสี แต่ไม่ทานวิตามินเอ มันก็ไม่ออกฤทธิ์ หรือออกฤทธิ์ได้ไม่ดี ถ้าทานร่วมกันจึงจะถูกดูดซึมได้ดีทั้งคู่ และช่วยส่งเิสริมกันให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ใครเอามาขายให้เราตัวเดียวเดี่ยว ๆ อย่าไปซื้อเลยค่ะ เีสียดายเงินเปล่า ๆ กินไปก็ไม่เห็นผลมากมายนัก ถ้าคิดจะซื้อ ให้ดูเป็นว่า มีสารอาหารหลายตัว และเจ้าหลายตัวนั้นต้องส่งเสริมการทำงานของกันและกัน
  • ยกตัวอย่างเช่น ถ้ากินวิตามินซีปริมาณมาก ควรกินแมกนีเซียมด้วย เพื่อไม่ให้เกิดนิ่วในไตจากแคลเซียมที่มากเกินไป เป็นต้น
  • บางครั้ง สัดส่วนต้องรับกันด้วยค่ะ ยกตัวอย่างเช่น แคลเซียม และ แมกนีเซียม บีมจำได้ว่าอัตราส่วนระหว่างสองตัวนี้เป็น 2:1 ถ้าจำไม่ผิด เป็นแคลเซียม 2 ต่อแมกนีเซียม 1 ส่วนค่ะ แคลเซียมจึงจะถูกดูดซึมไปใช้ได้หมด ไม่เหลือตกค้างเป็นนิ่วในไต หรือถูกขับออกไปแบบไร้ประโยชน์ (เสียเงินเปล่าค่ะ) เป็นต้น
  • วิตามินแต่ละตัวจะมีศัตรูอยู่ คำว่าศัตรูคือ ทำลายประสิทธิภาพของวิตามินหรือเกลือแร่นั้น ๆ ไป เท่าที่บีมอ่านหนังสือเล่มนี้มา ศัตรูของวิตามินจะมี กรด ด่าง น้ำ แสงแดด แอลกอฮอล์ ยานอนหลับ ยาคุมกำเนิด (อันนี้รบกวนวิตามินม้ากมากค่ะ) ยาในกลุ่มซัลฟา และยาต่าง ๆ
นั่นเป็นหลักการกว้าง ๆ ในการเลือกซื้อวิตามินมาใ้ช้ค่ะ จะได้ไม่เสียเวลา เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์เนาะ

ครั้งหน้า บีมจะมาเขียนเกี่ยวกับวิตามินที่บีมใช้อยู่ตอนนี้เพื่อเร่งกระบวนการรักษาเยียวยาตัวเองให้เร็วขึ้นซึ่งได้ผลน่าพอใจทีเดียวค่ะ

แต่เพื่อน ๆ อาจจะไม่จำเป็นต้องทำถึงขั้นนี้นะคะ ถ้าหากการสร้างสุขภาพนั้น ทำให้ผิวดีขึ้น สิวหาย และน้ำหนักลดได้ในระดับที่พอใจแล้ว ไม่จำเป็นต้องกินวิตามินแบบบีมค่ะ

ความคิดเห็น