อยากรู้มั้ยคะ ว่าทำไมบีมถึงเป็นสิว มาดูผลตรวจสุขภาพของบีมกัน
ตั้งแต่2 วันก่อน บีมคิดว่าจะเอาผลตรวจสุขภาพเมื่อปลายปีที่แล้วมาดูค่ะ เพราะได้เรียนรู้จากหนังสือของ Seppo ว่าคนที่เป็นสิวเรื้อรัง จะมีสาเหตุจาก
บีมเอง ไม่ใช่หมอ หรือคนทำงานวงการนี้นะคะ แต่ว่า ก็ google และก็ผนวกกับความรู้สมัย ม.6 ที่ยังพอมีเหลือ อิอิ ก็พอจะเข้าใจว่าผลตรวจออกมาเป็นยังไงนะคะ
อันแรกนี้ บีมจะให้ดูว่า ระดับกลูโคสของบีมนั้น อยู่ในขั้นปกติ นั่นหมายถึงว่า ระดับน้ำตาลขณะอดอาหารถือว่าไม่เป็นไร ไม่ได้เป็นเบาหวานและไม่ได้น้ำตาลในเลือดต่ำจนทำให้เวียนหัว หน้าืมืดได้
แสดงว่า สาเหตุของสิวบีมไม่น่าจะเกิดจากตรงนี้ค่ะ เพราะฉะนั้น ตามที่ Seppo ได้แนะนำคือ ถ้าหากค่าระดับน้ำตาลตรงนี้ไม่สูงจนเกินไป ก็สามารถกินคาร์โบไฮเดรตมาก ๆ ได้ แ่ต่ควรเป็นคาร์โบไฮเดรตจากผลไม้ที่กากใยอาหาร จะทำให้ระดับน้ำตาลไม่กระโดด ไม่แกว่งค่ะ เพราะใยอาหารจากผลไม้จะช่วยทำให้การดูดซึมน้ำตาลกลูโคสสู่กระแสเลือดเป็นไปอย่างคงที่
แต่ตัวเจ้าปัญหาคือ อันนี้ค่ะ
จะเห็นว่า มีดอกจันทร์ทั้งหมด 2 ดอก คือ Total Cholesterol กับ LDL Cholesterol ที่มีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐานไปมาก (ถ้าเห็นไม่ัชัด คลิกที่รูปนะคะ มันจะขึ้นหน้าใหม่ให้ดูรูปขนาดจริงที่บีมโหลด คือ LDL หรือไขมันชนิดเลวบีมมี 3.39 mmol/L ในขณะที่มันควรจะมีต่ำกว่า 2.58 ค่ะ)
เลยทำให้ไขมันโดยรวมในเลือดมีค่าสูงกว่าที่ควรจะเป็น
จากหนังสือของ Seppo การมีไขมันในเลือดสูงทำให้เกิดภาวะ "ดื้ออินซูลิน" Insulin Resistance เป็นภาวะที่อินซูลินไม่สามารถจะนำกลูโคสที่ได้รับจากอาหารไปใช้ได้อย่างเต็มที่ จึงทำให้ตับอ่อนต้องเพิ่มกำลังการผลิตอินซูลินออกมาเพิ่มอีกจำนวนมาก ทำให้ระดับกลูโคสลดลงมาก และเกิดเ็ป็นวงจรต่อเนื่องไปค่ะ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือด แม้ไม่สูง แต่มีการแกว่งค่อนข้างมาก จึงทำให้เกิดสิวเรื้อรังค่ะ
ตัวสุดท้ายที่เกี่ยวข้องกับสิว คือ การอักเสบ ค่า C-Reactive Protein (hsCRP) อยู่ที่ 5.1 mg/L ซึ่งในเอกสาร เค้ามีไกด์ไลน์ว่า ถ้าหากค่าีู้นี้สูงเกินกว่า 3.0 mg/L จะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจสูง ซึ่งของบีมเลยมาเยอะ
และเค้ายังบอกอีกว่า ถ้าได้ค่า hsCRP มากกว่า 5.0 mg/L แล้ว ควรจะต้องตรวจซ้ำอีกครั้งเพื่อหา "ต้นเหตุของการติดเชื้อ หรือ การอักเสบ" ค่ะ
ถ้าบีมให้ข้อมูลตรงไหนผิดก็ชี้แนะมาได้ค่ะ บีมรับฟังและจะได้มาแก้ใหู้ถูกต้อง
ซึ่งจากข้อมูลที่ได้มา ก็ยิ่งทำให้บีมเข้าใจมากขึ้นว่า ที่ Seppo และข้อมูลที่บีมเคยได้รับมาตลอดระยะเวลาที่รักษาสิวด้วยตัวเองนี้ มันค่อนข้างเชื่อถือได้ และพิสูจน์ได้จริง
ผลการตรวจนี้ ตรวจเมื่อตอนที่บีมทำงานอยู่ที่มาเลเซียค่ะ เป็น lab ที่มีชื่อว่า Gribbles เมื่อปลายปีที่แล้วนี้เอง
จะเห็นว่า บีมมีปัจจัยแห่งสิวเรื้อรังถึง 2 ข้อ คือ ไขมันชนิดเลวสูง และ การอักเสบหรือติดเชื้อ
การจะหาสาเหตุเป็นเรื่องที่เหมือนกับงมเข็มในมหาสมุทรค่ะ เพราะระบบร่างกายของเราช่างซับซ้อน คอมพิวเตอร์ที่ว่าฉลาดก็ยังไม่สามารถทำได้เหมือนเรา มีที่ไหนคะที่จะหัวใจเต้นได้ตลอดอายุการใช้งาน หายใจได้ตลอดอายุการใช้งาน
อวัยวะทำงานเองโดยไม่ต้องสั่ง
สิ่งที่เราทำได้คือ หลังจากเราตรวจมาแล้ว จะได้หายข้องใจ หรืออย่างน้อยเป็นไกด์ไลน์ให้เราเลือกอาหารและวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อลดปัจจัยดังกล่าว
มันก็มีแค่ทางเดียวคือ ธรรมชาติบำบัดค่ะ
เพราะทางอื่น ไม่ว่าจะเป็นกินยา ทายา ก็ไม่ได้ทำให้ไขมันชนิดเลวลดน้อยลง ตัวยาบางตัวทำให้ไขมันในเลือดเพิ่มสูงขึ้นด้วยซ้ำ พอเลิกกินก็เป็นหนักกว่าเดิม ก็เพราะเหตุนี้ล่ะค่ะ
และการกินยาหรือทายา ก็ไม่ได้ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ และไม่ได้ช่วยให้ลดการอักเสบในร่างกาย (หมายถึงการอักเสบเรื้อรังค่ะ)
ก็จะมีแต่การสร้างสมดุลเดิมให้กลับคืนมาเท่านั้นล่ะค่ะ
ให้เวลากับร่างกายได้ฟื้นฟูตัวเอง บางคนสิวอาจขึ้นช่วงแรก ๆ หรือ ตอนแรกๆ กินแล้วหาย และอาจจะมีขึ้นอีกบางครั้ง
ขอให้ทราบว่า นั่นเป็นกระบวนการรักษา ซ่อมแซมของร่างกาย
เพราะเนื้อเยื่อ เซลล์ต่างๆ ของเรานั้นมีเป็นหมื่นล้าน เราบอกไม่ได้แน่ชัดหรอกค่ะว่า จุดเสียมันอยู่ตรงไหน ยกเ้้ว้น หมอจีนเก่ง ๆ มั้งคะ :-) บีมเชื่อหมอจีนนะ ชอบแนวคิดเค้ารักษาแบบองค์รวมดี
แต่ก็ขอให้เข้าใจอีกเช่นกันว่า การรักษาที่ดี คือ การป้องกันไ่ม่ให้มันเกิด ฟื้นฟูร่างกายให้เข้าสู่สมดุล นั่นเป็นหลักการแพทย์และสาธารณสุขที่ควรจะเป็นค่ะ
ไม่ใช่ "เกิดโรค" แล้ว "รักษา"
ถึงตรงนี้ เพื่อน ๆคนไหนจะลองไปตรวจดูก็ได้นะคะ แต่ถ้าไม่ตรวจก็ไม่มีปัญหา เพราะยังไงเสีย วิธีการแก้ไขก็เหมือนกัน ไม่ว่าจะตรวจหรือไม่ตรวจ คือ ปรับสมดุลของร่างกายด้วยการทำให้ครบองค์ประกอบแห่งสุขภาพ 6 ข้อ น.ส. 4 อ. (นอนหลับ แสงแดด อาหาร อากาศ อารมณ์ และ ออกกำลัง)
ขอให้สุขภาพดีถ้วนหน้าค่ะ
ส่วนนี่ก็เป็นลิงค์้ข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่บีมไปหาความรู้เพิ่มเติมมาค่ะ
http://en.wikipedia.org/wiki/Reactive_lymphocyte
http://www.elib-online.com/doctors3/gen_lab01.html
- ระดับน้ำตาลในเลือดที่ไม่เสถียร หรือ
- ระดับไขมันในเลือดสูง หรือ
- มีการอักเสบเรื้อรัง (Chronic inflammation)
อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมีครบทั้งหมด
เมื่อเช้าเอาผลตรวจร่างกายมาดู
แอบตกใจ ว่ามันเป็นไปอย่างที่ Seppo พูดจริง ๆ ด้วยค่ะบีมเอง ไม่ใช่หมอ หรือคนทำงานวงการนี้นะคะ แต่ว่า ก็ google และก็ผนวกกับความรู้สมัย ม.6 ที่ยังพอมีเหลือ อิอิ ก็พอจะเข้าใจว่าผลตรวจออกมาเป็นยังไงนะคะ
อันแรกนี้ บีมจะให้ดูว่า ระดับกลูโคสของบีมนั้น อยู่ในขั้นปกติ นั่นหมายถึงว่า ระดับน้ำตาลขณะอดอาหารถือว่าไม่เป็นไร ไม่ได้เป็นเบาหวานและไม่ได้น้ำตาลในเลือดต่ำจนทำให้เวียนหัว หน้าืมืดได้
แสดงว่า สาเหตุของสิวบีมไม่น่าจะเกิดจากตรงนี้ค่ะ เพราะฉะนั้น ตามที่ Seppo ได้แนะนำคือ ถ้าหากค่าระดับน้ำตาลตรงนี้ไม่สูงจนเกินไป ก็สามารถกินคาร์โบไฮเดรตมาก ๆ ได้ แ่ต่ควรเป็นคาร์โบไฮเดรตจากผลไม้ที่กากใยอาหาร จะทำให้ระดับน้ำตาลไม่กระโดด ไม่แกว่งค่ะ เพราะใยอาหารจากผลไม้จะช่วยทำให้การดูดซึมน้ำตาลกลูโคสสู่กระแสเลือดเป็นไปอย่างคงที่
แต่ตัวเจ้าปัญหาคือ อันนี้ค่ะ
จะเห็นว่า มีดอกจันทร์ทั้งหมด 2 ดอก คือ Total Cholesterol กับ LDL Cholesterol ที่มีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐานไปมาก (ถ้าเห็นไม่ัชัด คลิกที่รูปนะคะ มันจะขึ้นหน้าใหม่ให้ดูรูปขนาดจริงที่บีมโหลด คือ LDL หรือไขมันชนิดเลวบีมมี 3.39 mmol/L ในขณะที่มันควรจะมีต่ำกว่า 2.58 ค่ะ)
เลยทำให้ไขมันโดยรวมในเลือดมีค่าสูงกว่าที่ควรจะเป็น
จากหนังสือของ Seppo การมีไขมันในเลือดสูงทำให้เกิดภาวะ "ดื้ออินซูลิน" Insulin Resistance เป็นภาวะที่อินซูลินไม่สามารถจะนำกลูโคสที่ได้รับจากอาหารไปใช้ได้อย่างเต็มที่ จึงทำให้ตับอ่อนต้องเพิ่มกำลังการผลิตอินซูลินออกมาเพิ่มอีกจำนวนมาก ทำให้ระดับกลูโคสลดลงมาก และเกิดเ็ป็นวงจรต่อเนื่องไปค่ะ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือด แม้ไม่สูง แต่มีการแกว่งค่อนข้างมาก จึงทำให้เกิดสิวเรื้อรังค่ะ
ตัวสุดท้ายที่เกี่ยวข้องกับสิว คือ การอักเสบ ค่า C-Reactive Protein (hsCRP) อยู่ที่ 5.1 mg/L ซึ่งในเอกสาร เค้ามีไกด์ไลน์ว่า ถ้าหากค่าีู้นี้สูงเกินกว่า 3.0 mg/L จะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจสูง ซึ่งของบีมเลยมาเยอะ
และเค้ายังบอกอีกว่า ถ้าได้ค่า hsCRP มากกว่า 5.0 mg/L แล้ว ควรจะต้องตรวจซ้ำอีกครั้งเพื่อหา "ต้นเหตุของการติดเชื้อ หรือ การอักเสบ" ค่ะ
ถ้าบีมให้ข้อมูลตรงไหนผิดก็ชี้แนะมาได้ค่ะ บีมรับฟังและจะได้มาแก้ใหู้ถูกต้อง
ซึ่งจากข้อมูลที่ได้มา ก็ยิ่งทำให้บีมเข้าใจมากขึ้นว่า ที่ Seppo และข้อมูลที่บีมเคยได้รับมาตลอดระยะเวลาที่รักษาสิวด้วยตัวเองนี้ มันค่อนข้างเชื่อถือได้ และพิสูจน์ได้จริง
ผลการตรวจนี้ ตรวจเมื่อตอนที่บีมทำงานอยู่ที่มาเลเซียค่ะ เป็น lab ที่มีชื่อว่า Gribbles เมื่อปลายปีที่แล้วนี้เอง
จะเห็นว่า บีมมีปัจจัยแห่งสิวเรื้อรังถึง 2 ข้อ คือ ไขมันชนิดเลวสูง และ การอักเสบหรือติดเชื้อ
การจะหาสาเหตุเป็นเรื่องที่เหมือนกับงมเข็มในมหาสมุทรค่ะ เพราะระบบร่างกายของเราช่างซับซ้อน คอมพิวเตอร์ที่ว่าฉลาดก็ยังไม่สามารถทำได้เหมือนเรา มีที่ไหนคะที่จะหัวใจเต้นได้ตลอดอายุการใช้งาน หายใจได้ตลอดอายุการใช้งาน
อวัยวะทำงานเองโดยไม่ต้องสั่ง
สิ่งที่เราทำได้คือ หลังจากเราตรวจมาแล้ว จะได้หายข้องใจ หรืออย่างน้อยเป็นไกด์ไลน์ให้เราเลือกอาหารและวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อลดปัจจัยดังกล่าว
มันก็มีแค่ทางเดียวคือ ธรรมชาติบำบัดค่ะ
เพราะทางอื่น ไม่ว่าจะเป็นกินยา ทายา ก็ไม่ได้ทำให้ไขมันชนิดเลวลดน้อยลง ตัวยาบางตัวทำให้ไขมันในเลือดเพิ่มสูงขึ้นด้วยซ้ำ พอเลิกกินก็เป็นหนักกว่าเดิม ก็เพราะเหตุนี้ล่ะค่ะ
และการกินยาหรือทายา ก็ไม่ได้ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ และไม่ได้ช่วยให้ลดการอักเสบในร่างกาย (หมายถึงการอักเสบเรื้อรังค่ะ)
ก็จะมีแต่การสร้างสมดุลเดิมให้กลับคืนมาเท่านั้นล่ะค่ะ
ให้เวลากับร่างกายได้ฟื้นฟูตัวเอง บางคนสิวอาจขึ้นช่วงแรก ๆ หรือ ตอนแรกๆ กินแล้วหาย และอาจจะมีขึ้นอีกบางครั้ง
ขอให้ทราบว่า นั่นเป็นกระบวนการรักษา ซ่อมแซมของร่างกาย
เพราะเนื้อเยื่อ เซลล์ต่างๆ ของเรานั้นมีเป็นหมื่นล้าน เราบอกไม่ได้แน่ชัดหรอกค่ะว่า จุดเสียมันอยู่ตรงไหน ยกเ้้ว้น หมอจีนเก่ง ๆ มั้งคะ :-) บีมเชื่อหมอจีนนะ ชอบแนวคิดเค้ารักษาแบบองค์รวมดี
แต่ก็ขอให้เข้าใจอีกเช่นกันว่า การรักษาที่ดี คือ การป้องกันไ่ม่ให้มันเกิด ฟื้นฟูร่างกายให้เข้าสู่สมดุล นั่นเป็นหลักการแพทย์และสาธารณสุขที่ควรจะเป็นค่ะ
ไม่ใช่ "เกิดโรค" แล้ว "รักษา"
ถึงตรงนี้ เพื่อน ๆคนไหนจะลองไปตรวจดูก็ได้นะคะ แต่ถ้าไม่ตรวจก็ไม่มีปัญหา เพราะยังไงเสีย วิธีการแก้ไขก็เหมือนกัน ไม่ว่าจะตรวจหรือไม่ตรวจ คือ ปรับสมดุลของร่างกายด้วยการทำให้ครบองค์ประกอบแห่งสุขภาพ 6 ข้อ น.ส. 4 อ. (นอนหลับ แสงแดด อาหาร อากาศ อารมณ์ และ ออกกำลัง)
ขอให้สุขภาพดีถ้วนหน้าค่ะ
ส่วนนี่ก็เป็นลิงค์้ข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่บีมไปหาความรู้เพิ่มเติมมาค่ะ
http://en.wikipedia.org/wiki/Reactive_lymphocyte
http://www.elib-online.com/doctors3/gen_lab01.html
ความคิดเห็น